วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2562

มกร ตัวกินนาค

มื่อกล่าวถึงสัตว์ในตำนาน หลายคนอาจจะนึกถึง มังกร นกฟีนิกซ์ ยูนิคอร์น หรือไฮดรา แต่หากกล่าวถึงสัตว์ในตำนานของไทย คำตอบแรกที่หลายคนนึกถึงคงเป็นพญานาค พญาครุฑ กินรี เป็นต้น หรือถ้ามองในภาพกว้าง คือ สัตว์ในป่าหิมพานต์ ซึ่งลักษณะของสัตว์นั้น จะเป็นการนำสัตว์ชนิดต่างๆมารวมกัน ทำให้ได้เป็นสัตว์ที่เป็นตำนาน ที่ไม่สามารถเห็นได้ในชีวิตจริง เช่น กินรีที่มีท่อนบนเป็นผู้หญิง แต่ท่อนล่างมีลักษณะเป็นนก หรือคชสีห์ ที่ตัวเป็นสิงห์ แต่มีงวง และงาเหมือนช้าง ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึง มกร หรืออีกชื่อคือ เหรา 
ป่าหิมพานต์ เป็นความเชื่อในศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ซึ่งเชื่อว่าเป็นป่าที่อยู่เชิงเขาพระสุเมรุ เป็นที่อยู่ของคนธรรพ์ สัตว์ในตำนาน หรือแม้แต่นารีผลที่เป็นต้นไม้ที่ออกผลเป็นผู้หญิง ก่อนที่จะเน่าสลายไปใน 7วัน ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ในอดีตได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ ทำให้ศิลปะในสมัยก่อน เช่น  รูปปั้น หรือเรื่องราวที่สลักที่ฝาผนัง มีความคล้ายคลึงกัน เพราะมีความเชื่อในเรื่องเดียวกัน
มกร (มะ-กอน/มะ-กะ-ระ) หรือ เหรา (เห-รา) เป็นสัตว์ที่มีความไม่แน่ชัดในที่มาของลักษณะ บ้างก็ว่ามกรเป็นส่วนผสมของปลา ช้าง และจระเข้ หรือแค่ช้าง และจรเข้ หรือพญานาค และจระเข้ หรือแม้แต่พญานาค และมังกร นอกจานี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น เบญจลักษณ์ และตัวสำรอก เนื่องจากศิลปะที่ปรากฏให้เห็นนั้น มกรมักจะคาย หรือสำรอกสิ่งต่างๆออกมา ยกตัวอย่างเช่น รูปปั้นบริเวณบันไดของวัดที่มกรคายพญานาคออก จึงทำให้มีอีกชื่อเรียกว่า ตัวกินนาค
ที่มารูปภาพ https://talk.mthai.com/inbox/370880.html?fbclid=IwAR0OpkaqtmUMNodKEn7iL4ttU_iSgQUv1nkpm8mEa9Pm_yICTLmrnSezzik
มกร เป็นศิลปะที่ปรากฏให้เห็นในศิลปะของไทย เมียนมา กัมพูชา ล้านนา ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะอินเดีย ในความเชื่อนั้น มกรเป็นสัญลักญณ์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะการคายสิ่งต่างๆออกมา และสัตว์ที่เป็นส่วนผสมของมกรนั้น ก็เป็นสัตว์ที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ปลา หรือจระเข้ และในศิลปะเขมรนั้น มกรถูกใช้เป็นลวดลายของทับหลังที่ถูกประดับเหนือประตู เพื่อเป็นการอวยพรให้ผู้ที่เข้ามามีความสุข และความอุดมสมบูรณ์ เช่น ศิลปะแบบสมโบร์ไพรกุก และศิลปะแบบพระโค เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อว่า มกรเป็นสัตว์พาหนะของพระแม่คงคา และพระวรุณ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งแม่น้ำ และสายฝนอีกด้วย


ที่มารูปภาพ https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=surya21&month=04-2013&date=03&group=4&gblog=109&fbclid=IwAR0j-Fofk44y55uwbtVIv6-CtdCQt207oh3e-un67ZFgwdgyIJBBIKTPuNY

มกรที่ปรากฏในไทยนั้น จะปรากฏในรูปของตัวกินนาค ซึ่งจะพบเห็นได้ตามวัดต่างๆ โดยเฉพาะภาคเหนือ มกรคายนาคนี้ถือเป็นศิลปะล้านนา ซึ่งสามารถตีความหมายได้ 2 แบบ คือ 1.เป็นการเปรียบเทียบว่า มกร คือพม่า ส่วนพญานาค คืออาณาจักรล้านนา ซึ่งหมายถึงการหลุดพ้นจากอิทธิพลทางศิลปะ และการปกครองของพม่าที่เข้ามาครอบครองอาณาจักรล้านนากว่า 200 ปี และ 2.เป็นความหมายในทางพระพุทธศาสนา เปรียบมกรเป็นความรัก โลภ โกรธ หลง ส่วนนาคนั้นคือ ตัวเรา แปลความหมายได้ว่า หากตัวเรายังยึดติดกับความลุ่มหลงต่างๆ เราก็เหมือนกับพญานาคที่ถูกมกรยึดติดไว้ ไม่หลุดพ้นจากความทุกข์ หรือปล่อยวางได้ และยังมีอีกอย่างที่ต้องเป็นมกรคายนาค ไกด์ประจำสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอบอกว่า หากเราปั้นเฉพาะพญานาคลำตัวก็จะยาว จึงต้องปั้นให้เป็นมกรคายนาค เพราะมกรนั้นพอดีกับความยาวของราวบันได

ที่มารูปภาพ http://paapaii.com/travel-give-good-2018/

มกรนั้น ถือเป็นสัตว์ในป่าหิมพานต์ที่มีความสำคัญในทางศิลปะไม่น้อย แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้รู้จัก หรือให้ความสำคัญใดๆเลย และมกรยังเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถนำมาบ่งบอกถึงยุคศิลปะต่างๆได้ ในบทความนี้ทางผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้อ่านจะได้รู้จักกับมกร หรือตัวกินนาคนี้มากขึ้น และหากท่านลองสังเกตตามบันไดที่วัดต่างๆ ท่านอาจจะเห็นตัวกินนาคที่ท่านอาจเคยมองข้ามไป


แหล่งอ้างอิง
เชษฐ์ เชษฐ์  ติงชัญชลี. (2560). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. พิมพ์ครั้งที่ 3.
นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.
MTHAI. (2556). ตัวกินนาค. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2562, จาก










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น